วิชา:ดนตรี-นาฏศิลป์


1ใบความรู้
เรื่องประเภทของวงดนตรีสากล

                วงดนตรีสากลในปัจจุบันมีการเรียกชื่อต่าง ๆ กันออกไปหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. วงแชมเบอร์ (Chamber Music)
                เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในห้องโถงหรือสถานที่ไม่ใหญ่โตนัก มีนักดนตรีตั้งแต่  2 – 9 คน มีชื่อเรียกตามจำนวนนักดนตรี ดังนี้ คือ
นักดนตรี   2    คน    เรียกว่า    ดูเอ็ด (Duet)              นักดนตรี  3   คน    เรียกว่า   ทรีโอ (Trio)
นักดนตรี   4    คน    เรียกว่า    ควอเต็ด (Quartet)     นักดนตรี  5   คน    เรียกว่า   ควินเต็ด (Quintet)
นักดนตรี   6    คน    เรียกว่า    เซกเต็ด (Sextet)        นักดนตรี  7   คน    เรียกว่า   เซพเต็ด (Setet)
นักดนตรี   8    คน    เรียกว่า    ออคเต็ด (Octet)         นักดนตรี  9   คน    เรียกว่า   โนเน็ด (Nonet)
2. วงออร์เคสตร้า (Orchestra)
                เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่มีนักดนตรีมากที่สุด และมี วาทยกร หรือ ผู้อำนวยเพลง  (Conductor)
เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีเพื่อกำกับจังหวะ ลีลา และความดังเบาของบทเพลง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
                2.1 วงแชมเบอร์ออร์เคสตร้า เป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะเครื่องดนตรีตระกูลไวโอล์เท่านั้น มีผู้บรรเลง
จำนวน  20 – 30 คน
                2.2 วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทั้ง  5  ประเภท คือ เครื่องสาย  เครื่อง
ลมไม้  เครื่องทองเหลือง  เครื่องคีย์บอร์ด และเครื่องกระทบ แบ่งขนาดของวงเป็น  3  ขนาดคือ
                                2.2.1 ขนาดเล็ก    มีผู้บรรเลง  40 – 60 คน
                                2.2.2 ขนาดกลาง มีผู้บรรเลง  60 – 80 คน
                                2.2.1 ขนาดใหญ่ มีผู้บรรเลงตั้งแต่  80 คน ขึ้นไป
3. วงแบนด์ (Band)
                เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลืองเป็นหลักในการบรรเลง
มีเครื่องประกอบจังหวะเป็นส่วนประกอบ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
                3.1 วงซิมโฟนิคแบนด์ เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีเครื่องเป่าเป็นหลัก และมีดับเบิ้ลเบสมาบรรเลงประกอบ มักบรรเลงในร่ม ในห้องประชุม บทเพลงที่บรรเลงเป็นบทเพลงที่เขียนขึ้นเฉพาะ
                3.2 วงมาร์ชชิ่งแบนด์ เป็นวงดนตรีที่มีอยู่ตามหน่วยงานสถานศึกษา เหมาะสำหรับบรรเลงกลางแจ้ง
แบ่งออกเป็น 2  ประเภทคือ
                                3.2.1 วงแตรวง เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องเป่าทองเหลืองเป็นหลักและมีเครื่องกำกับจังหวะประกอบ
                                3.2.2 วงโยธวาทิต วง เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองเป็นหลักและมีเครื่องกำกับจังหวะประกอบ แต่เดิมเป็นวงดนตรีที่ใช้ในการกิจการของทหาร ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่สถานศึกษา เป็นวงดนตรีที่ใช้ในการเดินสวนสนามใช้บรรเลงกลางแจ้งประกอบการเดินสวนสนาม
2                3.3 วงบิกแบนด์ (Big Band) เป็นวงดนตรีแจ๊สประเภทหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา
จุดมุ่งหมายในการบรรเลงคือ เพื่อประกอบการเต้นรำและฟังเพื่อความไพเราะ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3
กลุ่มคือ เครื่องลมไม้  เครื่องลมทองเหลืองและเครื่องกำกับจังหวะ
                3.4 วงคอมโบ (Conbo) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง บรรเลงเพื่อฟัง บรรเลงประกอบการเต้นรำและประกอบการแสดงต่าง ๆ
4. วงชาโดว์ (Shadow)
                เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มีเครื่องดนตรีอยู่  3  ชิ้นคือ
กีตาร์  เบส  และกลองชุด ผู้ขับร้องก็เป็นนักดนตรี
5. วงสตริงคอมโบ (String Combo)
                เป็นวงดนตรีที่พัฒนามาจากวงชาโดว์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ กีตาร์คอร์ด  กีตาร์ลีด เบส
คีย์บอร์ด กลองชุด บางวงอาจเพิ่มเครื่องเป่าเช่น ทรัมเป็ต  แซกโซโฟน ทรอมโบนเข้าไปด้วย
6. วงโฟล์คซอง (Folksong)
                ความหมายที่แท้จริงของ โฟล์คซอง คือ เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงของชาวบ้านที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิง  สนุกสนาน  เครื่องดนตรีที่ใช้ก็เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในท้องถิ่น ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่แน่นอน
                สำหรับประเทศไทย  มีผู้เอาคำว่า โฟล์คซอง  มาใช้ในความหมายว่า การขับร้องเพลงยอดนิยมทั่วไป โดยมีเครื่องดนตรีกีตาร์โปร่งมาบรรเลงประกอบ และมีเครื่องดนตรีมาประสมคือ ขลุ่ย เม้าท์ออร์แกน
และเครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ
7. วงแตรวงชาวบ้าน
                เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแถบชนบท  มีรูปบแบบที่ไม่แน่นอนเครื่องดนตรีหลักคือเครื่องดนตรีเครื่องเป่าชนิดต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ และเครื่องตีประกอบจังหวะ เพลงที่บรรเลงมีทั้งเพลงไทย  เพลงลูกทุ่ง และเพลงอื่น ๆ มีลีลาจังหวะที่สนุกสนาน   ใช้บรรเลงประกอบงานพิธีต่าง ๆ เ ช่น งานแห่ต่าง ๆ   เป็นต้น

*************************

No comments:

Post a Comment

บล็อกของเพื่อน

vrit-blog.blogspot.com                                   chananya-blog.blogspot.com