วิชา :ประวัติศาสตร์


  ศึกษา วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์  ตัวอย่างการใช้เวลา  (ทั้งระบบสุริยคติและจันทรคติ)  ช่วงเวลา  (เช่น  ทศวรรษ  ศตวรรษ  สหัสวรรษ)  และยุคสมัยที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย  (สมัยก่อนประวัติศาสตร์  สมัยประวัติศาสตร์)  ศึกษาที่มาของศักราช  ตัวอย่างการใช้ศักราช และวิธีการเทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย  ได้แก่  พ.ศ. / ค.ศ. / จ.ศ. / ม.ศ. / ร.ศ. โดยใช้ทักษะของการสังเกต  การสำรวจ  การคำนวณ  การเปรียบเทียบ  ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์  (ว่ามีเรื่องใด  เกิดขึ้นเมื่อไร  ที่ไหน  เหตุการณ์ใดเกิดก่อน  เหตุการณ์ใดเกิดหลัง  เหตุการณ์ใดเป็นเหตุ  เหตุการณ์ใดเป็นผล และทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น)  เข้าใจความสัมพันธ์และความสำคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต
                ศึกษาความหมาย ความสำคัญของประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์ นำวิธีการทางประวัติศาสตร์สืบค้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไทยที่มีอู่ในท้องถิ่นตนเอง (สมัยใดก็ได้เช่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์  สมัยก่อนสุโขทัย  สมัยสุโขทัย  สมัยอยุธยา  สมัยธนบุรี  สมัยรัตนโกสินทร์)  ตัวอย่างการวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย  ทั้งหลักฐานชั้นต้น  และหลักฐานชั้นรอง  โดยใช้ทักษะการวิเคราะห์  การตีความ  การแยกแยะ การวินิจฉัย การสร้างความรู้ใหม่ การให้เหตุผล  การสำรวจ  การรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ในการดำเนินชีวิต  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สืบค้นเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง (ความรู้ใหม่ที่ตนสืบค้นได้)  และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยในสมัยสุโขทัยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
                ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัย ในดินแดนไทยโดยสังเขป ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  และสมัยประวัติศาสตร์   เกี่ยวกับรัฐโบราณในดินแดนไทย   เช่น  ฟูนัน  ศรีวิชัย  ตามพรลิงค์  ทวารวดี  รัฐไทยในดินแดนไทยในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่  18  เช่น  ละโว้  หริภุญชัย  นครศรีธรรมราช และพัฒนาการของรัฐไทยในสมัยสุโขทัยในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการสถาปนาอาณาจักร  ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทั้งปัจจัยภายในและภายนอก พัฒนาการด้านการเมือง การปกครอง  เศรษฐกิจ สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  รวมทั้งความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย  ศึกษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย ได้แก่  ภาษา  วรรณกรรม  ประเพณี  ศิลปกรรม  ประเพณี  ศิลปกรรม  การชลประทาน  เครื่องสังคโลก  ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญ  อิทธิพลของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสมัยสุโขทัยที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน โดยใช้ทักษะการรวบรวมหลักฐาน การตรวจสอบข้อเท็จจริง  การวิเคราะห์  การวิพากษ์ข้อมูล  การตีความ  การใช้เหตุผล  การสังเคราะห์  การนำเสนอด้วยวิธีการต่าง ๆ (เช่นการทำผังความคิด การจัดนิทรรศการ)  ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย  เห็นแบบอย่างการกระทำความดีของบรรพบุรุษที่ได้ปกป้องชาติด้วยความเสียสละ เกิดความรัก ความภูมิใจในชาติ  วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย     
                ศึกษาปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   รวมทั้งพัฒนาการทางด้านสังคม   เศรษฐกิจ   การเมือง  การปกครองของประเทศต่าง ๆ  ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และความร่วมมือของประเทศสมาชิกในการรวบรวมกลุ่มเป็นสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ศึกษาความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม  อิทธิพลของอารยธรรมโบราณในดินแดนไทยที่มีต่อพัฒนาการของสังคมไทยในปัจจุบัน โดยใช้ทักษะการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์  การสังเคราะห์ข้อมูล  ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติที่มีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และผลกระทบที่มีต่อสังคมไทย  เข้าใจ  และอยู่ร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

No comments:

Post a Comment

บล็อกของเพื่อน

vrit-blog.blogspot.com                                   chananya-blog.blogspot.com