เศรษฐศาสตร์การเมือง (อังกฤษ: Political economy) มีความหมายกว้างขวางมาก คำจำกัดความจึงเป็นได้หลากหลายทาง ในทางหนึ่ง อาจหมายถึง ความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่คิดรวมเอาปัจจัยด้านอื่นเข้าไปรวมด้วย เช่น สังคม วัฒนธรรม ประเพณี พฤติกรรมของคน กฎหมาย การเมือง(ความเกี่ยวข้องกับรัฐ) และพิจารณาถึงปูมหลังของแต่ละทฤษฎีด้วย อีกทั้งเป็นการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างของระบบ มากกว่า ที่จะพิจารณาแต่ในเชิงคณิตศาสตร์และตรรกะบนการตั้งสมมติฐาน
ประวัติ[แก้]
คำว่า Political economy (เศรษฐศาสตร์การเมือง) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางก่อนคำว่า Economics (เศรษฐศาสตร์) เศรษฐศาสตร์การเมืองในสมัยแรกเป็นความพยายามแยกให้เห็นว่า การปกครองเมือง (Political) มีความแตกต่างจากการปกครองแบบเดิม ซึ่งคำว่า Economy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่าการจัดสรรครัวเรือน การเพิ่มคำ political เข้าไปอาจทำให้หมายถึง การจัดสรรในแบบที่แตกต่างไปจากครัวเรือนทั่วไปเป็นแบบเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น โดยที่การศึกษาจะเกี่ยวกับการดำเนินงานและการผลิตที่บริหารโดยรัฐ(รัฐเป็นสถาบันใหม่ในสังคม) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของระบบทุนนิยมที่เพิ่งเกิดใหม่และมีบทบาทมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง] คำนี้ ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในอังกฤษ สมัย คริสต์ศตวรรษที่18 เพื่อแทนที่ แนวคิดสำนักธรรมชาตินิยม (Physiocracy)ของฝรั่งเศส งานเขียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองชิ้นแรกๆ ได้แก่ The labour theory of value (ซึ่งเริ่มโดย จอห์น ล็อก), พัฒนาต่อโดย อดัม สมิธ และวิเคราะห์ต่อในเชิงวิพากษ์โดยคาร์ล มาร์กซ)
ใน คริสต์ศตวรรษที่19 เนื่องด้วยความเฟื่องฟูของวิชาเศรษฐศาสตร์ในแบบกระแสหลัก ทำให้ คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง ถูกแทนที่ด้วย คำว่า เศรษฐศาสตร์ และทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์ที่ว่านั้น ก็มีการใช้แนวคิดในเชิงองค์รวมน้อยลง เนื่องจากคำพยายามที่จะทำให้เศรษฐศาสตร์เป็น วิชาที่สามารถตัดออกจาก อารมความรู้สึกทางวัฒนธรรม สังคมและการเมือง เพื่อให้วิชาดังกล่าวมีความคิดเป็นเหตเป็นผลทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เป็นผลทำให้ เศรษฐศาสตร์กลายเป็นสาขาวิชาที่ ไม่ค่อยตอบโจทย์ปัญหาของสังคม การเมือง หรือวัฒนธรรมใดๆเลย
ในภายหลัง ที่เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์เศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาก ขึ้น เศรษฐศาสตร์การเมือง จึงปรากฏชัดขึ้นอีกครั้ง และมีบทบาทมาถึงปัจจุบัน
เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Neo classic) มีความโดดเด่นในการชี้นำให้เห็นถึงสาเหตุการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคมสามารถนำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกลไกตลาดที่ทำงานอย่างเสรี แต่ความเป็นจริง กลไกตลาดไม่เคยทำงานอย่างเป็นอิสระ ถูกครอบงำด้วยอำนาจที่ชัดเจนและที่ไม่ชัดเจน เป้าหมายการใช้อำนาจเหนือกลไกตลาดก็คือ การได้กรรมสิทธ์ส่วนเกิน(surplus) เศรษฐศาสตร์การเมือง วิเคราะห์เศรษฐกิจ บนพื้นฐานความจริงทางสังคม อำนาจทางการเมือง การกระทำในประวัติศาสตร์ เพื่ออธิบายรูปแบบเติบโตที่ขาดสมดุล ทำไมยิ่งพัฒนายิ่งทำให้สังคมแตกแยก
No comments:
Post a Comment