vrit-blog.blogspot.com chananya-blog.blogspot.com
Thursday, January 3, 2019
วิชาแนะแนว
สรุปรายวิชาการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ความสำคัญของการแนะแนว
จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งครูแนะแนวทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อ และการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
กิจกรรมแนะแนว ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง
. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง
2. มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง
3. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว
4. บุคคลแต่ละคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ
5. บุคคลจะมีความสุขเมื่อได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในด้านต่าง ๆ
6. พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ
การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่จะให้งานบริการแนะแนวบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักการแนะแนวที่มีการวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม ดังนั้นอาจารย์แนะแนวจึงควรยึดถือหลักการสำคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การแนะแนวเป็นบริการที่ต้องจัดให้กับบุคคลทุกคนไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาที่มีปัญหาเท่านั้น
2.การแนะแนวตั้งอยู่บนรากฐานของการยอมรับในศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละคนและยอมรับในสิทธิส่วนตัวในการตัดสินใจที่จะเลือกทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. การแนะแนวเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันและเป็นไปตามลำดับขั้น
4. การแนะแนวจะต้องเกิดจากความร่วมมือไม่ใช่การบังคับ
5. การแนะแนวเน้นในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. การแนะแนวเน้นในเรื่องของการเข้าใจตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง และการปรับตัว ด้วยตนเอง
7. การแนะแนวเน้นในเรื่องการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขปัญหา
8. การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา
9. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจากความร่วมมือ และความเต็มใจของบุคลากร ทุกฝ่ายในมหาวิทยาลัย และนักศึกษาผู้มารับบริการ
10.การแนะแนวจะต้องจัดบริการให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) การแนะแนวการศึกษา (2) การแนะแนวอาชีพ (3) การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
1. ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน
2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. ประโยชน์แก่ครู
3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
4. ประโยชน์แก่โรงเรียน
4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
วิชาคณิต
บทที่ 3. คู่อันดับและกราฟ
3.1 คู่อันดับและกราฟของคู่อันดับ
โดยทั่วไปมีเหตุการณ์ต่างเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆจะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆสองปริมาณอยู่เสมอ เช่น การเสียค่าไฟฟ้ากับระยะเวลาการใช้ไฟฟ้า ระยะทางในการเดินทางกับระยะเวลาในการเดินทาง ระยะเวลาการโทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ที่จ่ายไป เป็นต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ สมศรีใช้โทรศัพท์มือถือโทรหาเพื่อน โดยที่มีอัตราค่าโทรศัพท์นาทีละ 2 บาท ซึ่งเรา
สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการโทรกับค่าโทรศัพท์ได้หลายแบบได้หลายรูปแบบ เช่น
- แสดงความสัมพันธ์ในรูปตาราง
ระยะเวลาการโทร ( นาที )
|
ราคาค่าโทรศัพท์ ( บาท )
|
1
|
2
|
2
|
4
|
3
|
6
|
4
|
8
|
5
|
10
|
- แสดงความสัมพันธ์ในรูปแผนภาพ
ระยะเวลาการโทร ( นาที ) ราคาค่าโทรศัพท์ ( บาท )
- แสดงความสัมพันธ์ในรูปคู่อันดับ
คู่อันดับ คือ การแสดงการจับคู่ระหว่างสมาชิกของกลุ่มสองกลุ่มซึ่งจะต้องมีข้อตกลงว่าสมาชิกตัวที่หนึ่งและสมาชิกตัวที่สองของคู่อันดับมาจากกลุ่มใด จากตัวอย่างนี้ กำหนดให้สมาชิกตัวแรกแสดงระยะเวลาการโทร(นาที) และสมาชิกตัวที่สองแสดงราคาค่าโทรศัพท์(บาท) ได้ดังนี้
(1,2), (2,4), (3,6), (4,8), (5,10)
หมายเหตุ ถ้าเราสลับตำแหน่งของ (1, 2) เป็น (2, 1) ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย นั่นคือ
(1, 2) หมายถึง เมื่อใช้โทรศัพท์นาน 1 นาที จะเสียค่าโทรศัพท์ 2 บาท
(2, 1) หมายถึง เมื่อใช้โทรศัพท์นาน 2 นาที จะเสียค่าโทรศัพท์ 1 บาท
- แสดงความสัมพันธ์ในรูปการเขียนกราฟ
กราฟ คือ การแสดงความสัมพันธ์ในระบบพิกัดฉาก โดยการเขียนเส้นจำนวนในแนวนอนและแนวตั้งให้ตัดกันเป็นมุมฉาก
จุดกำเนิด คือ จุดที่เส้นจำนวนทั้งสองตัดกัน
แกนนอน คือ เส้นจำนวนในแนวนอน เรียกอีอย่างหนึ่งว่า แกน X
แกนตั้ง คือ เส้นจำนวนในแนวตั้ง เรียกอีอย่างหนึ่งว่า แกน Y
แกน X และ แกน Y จะอยู่บนระนาบเดียวกัน และจะแบ่งระนาบนี้ออกเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่าจตุภาค
กราฟของคู่อันดับ คือ จุดบนระนาบที่แทนมาจากคู่อันดับ โดยการลากเส้นตรงให้ตั้งฉากกับแกน X แล้วไปตัดกับเส้นตรงที่ลากตั้งฉากกับแกน Y โดยที่คู่อันดับคู่หนึ่งจะมีกราฟเพียงจุดเดียวบนระนาบ ซึ่งสามารถกล่าวได้อีกแบบหนึ่งว่าจุดแต่ละจุดที่อยู่บนระนาบจะแทนคู่อันดับได้เพียงคู่เดียวเท่านั้น
โดยทั่วไปคู่อันดับจะเขียนอยู่ในรูป (x, y) เมื่อ x แทนจำนวนที่อยู่บนแกน X เป็นพิกัดที่หนึ่ง และ y แทนจำนวนที่อยู่บนแกน Yเป็นพิกัดที่สองดังรูป
3.2 กราฟและการนำไปใช้
เมื่อเรามีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสองกลุ่ม เราสามารถที่จะแสดงความสัมพันธ์ออกมาในรูปของกราฟได้ และเมื่อเรามีกราฟแสดงความสัมพันธ์ต่างระหว่างปริมาณสองกลุ่มนั้น เราก็สามารถที่จะหาพิกัดของจุดที่อยู่บนกราฟนั้นๆได้
วิช:ภาษาไทย
๑.หลักการใช้ภาษาไทย ระดับชั้น ม.๑ - การสร้างคำโดยใช้ คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน และคำพ้อง - วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค - วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน - การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี ๑๑ ๒. หลักการใช้ภาษาไทย ระดับชั้น ม.๒ - การสร้างคำสมาส - ลักษณะของประโยค ( ประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน ) - การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ
๓. หลักการใช้ภาษาไทย ระดับชั้น ม.๓
- จำแนกและใช้คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
- โครงสร้างของประโยคซับซ้อน
- ระดับของภาษา
- การใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
- การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและคำสุภาษิต
วิชาวิทยาศาสตร์
การนำความร้อน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน
การนำความร้อน (มักแทนด้วย k, λ หรือ κ) เป็นการถ่ายโอนความร้อน (พลังงานภายใน) จากการชนของอนุภาคในระดับจุลทรรศน์ และการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภายในวัตถุหนึ่ง ๆ อนุภาคที่มีการชนกันในระดับจุลทรรศน์นี้ ซึ่งรวมถึงโมเลกุล อะตอมและอิเล็กตรอน ถ่ายโอนพลังงานศักย์และจลน์ในระดับจุลทรรรศน์ที่ไม่เป็นระเบียบ ที่รวมกันเรียก พลังงานภายใน การนำเกิดขึ้นในทุกสถานะของสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว แก๊สและคลื่น อัตราที่มีการนำพลังงานในรูปความร้อนระหว่างวัตถุสองชนิดเกิดจากผลต่างของอุณหภูมิระหว่างวัตถุสองชนิดและคุณสมบัติของตัวกลางการนำซึ่งความร้อนนำผ่าน
การถ่ายเทความร้อน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหา
ประโยชน์[แก้]
การถ่ายเทความร้อน มีความสำคัญในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ไม่ว่าจะเป็น การใช้ความร้อนในการหุงต้มอาหาร กระบวนการแปรรูปที่เกี่ยวข้องกับความร้อนและความเย็นในโรงงานแปรรูปอาหาร เช่น กระบวนการแช่เย็น การแช่แข็ง การฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนการอบแห้ง และการระเหย กระบวนการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนความร้อนระหว่างผลิตภัณฑ์และตัวกลางให้ความร้อน หรือความเย็นการถ่ายโอนความร้อนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิระหว่างตำแหน่งสองตำแหน่งในมีค่าแตกต่างกันโดยความร้อนจะถ่ายเทจากที่ที่มีอุณหภูมิสูงไปที่มีอุณหภูมิต่ำเสมอ ในตัวกลางหรือระหว่างตัวกลางการถ่ายโอนความร้อน[1]
ชนิด[แก้]
การถ่ายเทความร้อน สามารถจำแนก ได้ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
การนำความร้อน[แก้]
การนำความร้อน (อังกฤษ: heat conduction) คือ ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนถ่ายเทภายในวัตถุหนึ่ง ๆ หรือระหว่างวัตถุสองชิ้นที่สัมผัสกัน โดยมีทิศทางของการเคลื่อนที่ของพลังงานความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่ตัวกลางไม่มีการเคลื่อนที่ การนำความร้อนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นบนชั้นอะตอมของอนุภาค เป็นหนึ่งในกระบวนการถ่ายเทความร้อน ในโลหะ การนำความร้อนเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ(คล้ายการนำไฟฟ้า)ในของเหลวและของแข็งที่มีสภาพการนำความร้อนต่ำเป็นผลมาจากการสั่นของโมเลกุลข้างเคียง ในก๊าซการนำความร้อนเกิดขึ้นผ่านการสั่นสะเทือนระหว่างโมเลกุลหรือกล่าวคือการนำความร้อนเป็นลักษณะการถ่ายเทความร้อนผ่าน โดยตรงจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งโดยการสัมผัสกัน เช่น การเอามือไปจับกาน้ำร้อน จะทำให้ความร้อนจากกาน้ำถ่ายเทไปยังมือ จึงทำให้รู้สึกร้อน เป็นต้น วัสดุใดจะนำความร้อนดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์การนำความร้อน(k)
การพาความร้อน[แก้]
การพาความร้อน (อังกฤษ: heat convection) เป็นการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ในสสารสองสถานะคือ ของเหลวและก๊าซ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยจะมีทิศทางลอยขึ้นเท่านั้น เนื่องจาก เมื่อสสารได้รับความร้อนจะมีการขยายตัว ทำให้ความหนาแน่นต่ำลง และสสารที่มีอุณหภูมิ ต่ำกว่า (ความหนาแน่นสูงกว่า) ก็จะลงมาแทนที่ ปรากฏการณนี้มีตัวอย่างคือ การเกิดลมบก ลมทะเล เป็นต้น การนำความร้อน[2]เป็นการถ่ายเทความร้อนโดยการเคลื่อนที่ของโมเลกุลผ่านของแข็งหรือผ่านของไหลที่อยู่กับที่ อันเป็นผลมาจากอุณหภูมิที่แตกต่างกัน การนำความร้อนต่อหน่วยพื้นที่ ต่อหน่วยเวลา
ประเภทของการพาความร้อน[3][แก้]
การพาความร้อนแบบธรรมชาติหรือแบบอิสระ(Natural or Free Convection)[แก้]
-การเคลื่อนที่ของความร้อนระหว่างผิวของของแข็งและของไหล โดยไม่มีกลไกใดๆทำให้ของไหลเคลื่อนที่แต่เกิดจากแรงลอยตัวของของไหลเอง
-แรงลอยตัวเกิดจากผลการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่น ที่มีอุณหภูมิของของไหล แตกต่างกัน ใน 2 บริเวณ
การพาความร้อนแบบบังคับ(Forced Convection)[แก้]
การเคลื่อนที่ของความร้อนระหว่างผิวของของแข็งและของไหล โดยของ ไหลถูกบังคับให้เคลื่อนที่ไปสัมผัสกับผิวของของแข็งโดยกลไกภายนอก เช่น พัดลม เครื่องสูบ
3.การแผ่รังสีความร้อน(Radiation)[4][แก้]
การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการถ่ายเทความร้อนออกรอบตัวทุกทิศทุกทาง โดยมิต้องอาศัยตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน ดังเช่น การนำความร้อน และการพาความร้อน การแผ่รังสีสามารถถ่ายเทความร้อนผ่านอวกาศได้ วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่า -270 ํC หรือ 0 K (เคลวิน) ย่อมมีการแผ่รังสี วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแผ่รังสีคลื่นสั้น วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีคลื่นยาว เช่น การตากปลาแห้ง ตากเสื่อผ้ากลางแจ้ง ทั้งนี้การแผ่รังสี คือการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ เช่น ความร้อนที่เกิดจากดวงอาทิตย์ถือเป็นความร้อนที่เกิดจากการถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสี โดยที่วัตถุแต่ละชนิดสามารถดูดกลืนความร้อนจากการแผ่รังสีได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
1. สีของวัตถุ วัตถุสีดำหรือสีเข้มดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุสีขาวหรือสีอ่อน
2. ผิววัตถุ วัตถุผิวขรุขระดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุผิวเรียบและขัดมัน
กลไกทางกายภาพ[6][แก้]
ประเภทของการแผ่รังสีของคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีอยู่หลายประเภท แต่ในที่นี้จะพูดถึงการแผ่รังสีความร้อนเท่านั้น ซึ่งจะกล่าวได้ว่าผลที่เกิดจากแพร่ด้วยค่าความเร็วของแสง 3x10^8 m/s ความเร็วนี้เท่ากับผลที่ได้จากความยาวคลื่นและความถี่ของการแผ่รังสี
C = fλ C = ความเร็วแสง,λ = ความยาวคลื่น,f = ความถี่ หรืออาจเขียนแทนด้วย v หน่วยของ λ อาจเป็น cm,angstrom หรือ μm หน่วยมาตรฐานคือ m
การถ่ายเทความร้อนในร่างกายมนุษย์[แก้]
หลักการของการถ่ายเทความร้อนในระบบวิศวกรรมสามารถนำไปใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อที่จะกำหนดวิธีการที่ร่างกายถ่ายโอนความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยการเผาผลาญอย่างต่อเนื่องของสารอาหารที่ให้พลังงานสำหรับระบบของร่างกาย ร่างกายมนุษย์จะต้องรักษาอุณหภูมิภายในที่สอดคล้องกันในการที่จะรักษาการทำงานของร่างกายให้มีสุขภาพดี ดังนั้นความร้อนส่วนเกินจะต้องกระจายออกจากร่างกายเพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายมีความสมดุล เมื่อมีการออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเผาผลาญและอัตราการผลิดความร้อนในร่างกายก็จะเพิ่มขึ้น ร่างกายก็จะมีการถ่ายเทความร้อน ออกจากร่างกายเพื่อปรับสมดุลจึงทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี
วิชา:ดนตรี-นาฏศิลป์
ใบความรู้
เรื่องประเภทของวงดนตรีสากล
วงดนตรีสากลในปัจจุบันมีการเรียกชื่อต่าง ๆ กันออกไปหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. วงแชมเบอร์ (Chamber Music)
เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในห้องโถงหรือสถานที่ไม่ใหญ่โตนัก มีนักดนตรีตั้งแต่ 2 – 9 คน มีชื่อเรียกตามจำนวนนักดนตรี ดังนี้ คือ
นักดนตรี 2 คน เรียกว่า ดูเอ็ด (Duet) นักดนตรี 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)
นักดนตรี 4 คน เรียกว่า ควอเต็ด (Quartet) นักดนตรี 5 คน เรียกว่า ควินเต็ด (Quintet)
นักดนตรี 6 คน เรียกว่า เซกเต็ด (Sextet) นักดนตรี 7 คน เรียกว่า เซพเต็ด (Seยtet)
นักดนตรี 8 คน เรียกว่า ออคเต็ด (Octet) นักดนตรี 9 คน เรียกว่า โนเน็ด (Nonet)
2. วงออร์เคสตร้า (Orchestra)
เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่มีนักดนตรีมากที่สุด และมี วาทยกร หรือ ผู้อำนวยเพลง (Conductor)
เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีเพื่อกำกับจังหวะ ลีลา และความดังเบาของบทเพลง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
2.1 วงแชมเบอร์ออร์เคสตร้า เป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะเครื่องดนตรีตระกูลไวโอล์เท่านั้น มีผู้บรรเลง
จำนวน 20 – 30 คน
2.2 วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทั้ง 5 ประเภท คือ เครื่องสาย เครื่อง
ลมไม้ เครื่องทองเหลือง เครื่องคีย์บอร์ด และเครื่องกระทบ แบ่งขนาดของวงเป็น 3 ขนาดคือ
2.2.1 ขนาดเล็ก มีผู้บรรเลง 40 – 60 คน
2.2.2 ขนาดกลาง มีผู้บรรเลง 60 – 80 คน
2.2.1 ขนาดใหญ่ มีผู้บรรเลงตั้งแต่ 80 คน ขึ้นไป
3. วงแบนด์ (Band)
เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลืองเป็นหลักในการบรรเลง
มีเครื่องประกอบจังหวะเป็นส่วนประกอบ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
3.1 วงซิมโฟนิคแบนด์ เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีเครื่องเป่าเป็นหลัก และมีดับเบิ้ลเบสมาบรรเลงประกอบ มักบรรเลงในร่ม ในห้องประชุม บทเพลงที่บรรเลงเป็นบทเพลงที่เขียนขึ้นเฉพาะ
3.2 วงมาร์ชชิ่งแบนด์ เป็นวงดนตรีที่มีอยู่ตามหน่วยงานสถานศึกษา เหมาะสำหรับบรรเลงกลางแจ้ง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.2.1 วงแตรวง เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องเป่าทองเหลืองเป็นหลักและมีเครื่องกำกับจังหวะประกอบ
3.2.2 วงโยธวาทิต วง เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองเป็นหลักและมีเครื่องกำกับจังหวะประกอบ แต่เดิมเป็นวงดนตรีที่ใช้ในการกิจการของทหาร ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่สถานศึกษา เป็นวงดนตรีที่ใช้ในการเดินสวนสนามใช้บรรเลงกลางแจ้งประกอบการเดินสวนสนาม
3.3 วงบิกแบนด์ (Big Band) เป็นวงดนตรีแจ๊สประเภทหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา
จุดมุ่งหมายในการบรรเลงคือ เพื่อประกอบการเต้นรำและฟังเพื่อความไพเราะ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3
กลุ่มคือ เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลืองและเครื่องกำกับจังหวะ
3.4 วงคอมโบ (Conbo) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง บรรเลงเพื่อฟัง บรรเลงประกอบการเต้นรำและประกอบการแสดงต่าง ๆ
4. วงชาโดว์ (Shadow)
เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มีเครื่องดนตรีอยู่ 3 ชิ้นคือ
กีตาร์ เบส และกลองชุด ผู้ขับร้องก็เป็นนักดนตรี
5. วงสตริงคอมโบ (String Combo)
เป็นวงดนตรีที่พัฒนามาจากวงชาโดว์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ กีตาร์คอร์ด กีตาร์ลีด เบส
คีย์บอร์ด กลองชุด บางวงอาจเพิ่มเครื่องเป่าเช่น ทรัมเป็ต แซกโซโฟน ทรอมโบนเข้าไปด้วย
6. วงโฟล์คซอง (Folksong)
ความหมายที่แท้จริงของ โฟล์คซอง คือ เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงของชาวบ้านที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เครื่องดนตรีที่ใช้ก็เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในท้องถิ่น ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่แน่นอน
สำหรับประเทศไทย มีผู้เอาคำว่า “โฟล์คซอง” มาใช้ในความหมายว่า การขับร้องเพลงยอดนิยมทั่วไป โดยมีเครื่องดนตรีกีตาร์โปร่งมาบรรเลงประกอบ และมีเครื่องดนตรีมาประสมคือ ขลุ่ย เม้าท์ออร์แกน
และเครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ
7. วงแตรวงชาวบ้าน
เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแถบชนบท มีรูปบแบบที่ไม่แน่นอนเครื่องดนตรีหลักคือเครื่องดนตรีเครื่องเป่าชนิดต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ และเครื่องตีประกอบจังหวะ เพลงที่บรรเลงมีทั้งเพลงไทย เพลงลูกทุ่ง และเพลงอื่น ๆ มีลีลาจังหวะที่สนุกสนาน ใช้บรรเลงประกอบงานพิธีต่าง ๆ เ ช่น งานแห่ต่าง ๆ เป็นต้น
*************************
Subscribe to:
Posts (Atom)
บล็อกของเพื่อน
vrit-blog.blogspot.com chananya-blog.blogspot.com
-
บทที่ 3. คู่อันดับและกราฟ 3.1 คู่อันดับและกราฟของคู่อันดับ โดยทั่วไปมีเหตุการณ์ต่างเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆจะแสดงถึงความสัม...
-
การนำความร้อน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา บทความนี้มีเนื้อหาที่ สั้นมาก ต้องการ เพิ่มเติมเนื้อหา ...